โครงการพัฒนาทักษะพลังงานในยุคเศรษฐกิจ BCG

เกี่ยวกับเรา

โครงการพัฒนาทักษะพลังงานในยุคเศรษฐกิจ BCG เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า (ตามมาตรา 97(5) บริหารงานโดย ศูนย์การจัดการพลังงานและเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. พัฒนาบุคลากรที่เป็นระดับเยาวชนและผู้ประกอบการให้มีความรู้ในด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้า เทคโนโลยีพลังงาน ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานสะอาดและการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และแนวคิดด้าน BCG และบทบาทของธุรกิจพลังงานสีเขียวในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
  2. พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ และสื่อการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ผ่านเกมการแข่งขัน และโลกเสมือนจริง
  3. ต่อยอดเพื่อนำทรัพยากรการเรียนรู้ที่เป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่าง กกพ. และผู้พัฒนา สามารถนำไปสร้างประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม และสร้างภาพลักษณ์ของ กกพ. ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มของเยาวชนและผู้ประกอบการมากขึ้น

ความเป็นมาของโครงการ

โลกในยุคศตวรรษที่ 21

เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และยังเป็นโลกที่เต็มไปด้วยวิกฤตการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์ด้านสภาพแวดล้อมอันเกิดจากภาวะโลกร้อน การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนความหวังในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานใหม่ การใช้พลังงานทดแทน และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตามมาตรา 97(5)

  1. ส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้และความตระหนักทางด้านไฟฟ้า
  2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า เพื่อพัฒนาเครือข่ายข้อมูล และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ส่งเสริมสังคมและประชาชนให้ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

แนวคิดหลักของ Bio-Circular-Green Economy

แนวคิดหลักของ Bio-Circular-Green Economy คือการใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดอย่างถูกหลักเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ (Bio-diversity) ให้เกิดขึ้น โดยการสร้างระบบนิเวศน์ที่หมุนเวียน (Circular System) โดยการนำของเสียจากระบบกลับมาใช้ หรือนำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนการประยุกต์นำหลักการของเศรษฐกิจสีเขียวแบบครบวงจร โดยในด้านพลังงานไฟฟ้าจะหมายถึง การนำเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่มาใช้ผลิตไฟฟ้า หรือการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ หรือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การกักเก็บประจุไฟฟ้า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการการผลิตให้สมดุลกับการใช้ไฟฟ้า การออกมาตรการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าสีเขียว ฯลฯ เป็นต้น เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) อย่างแท้จริง

หลักสูตรของเรา

หลักสูตรของเราประกอบด้วย 3 ชุดความรู้ รายละเอียดดังนี้

ชุดความรู้ที่ 1:
ภารกิจตามกฎหมายของ กกพ.

ภารกิจตามกฎหมายของ กกพ.

รายวิชา 1001 บทบาท กกพ ต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและปัญหาโลกร้อน

บทบาทของ กกพ. ในการกำกับกับดูแลผู้ประกอบกิจการพลังงาน ประเภทของกิจการที่ กกพ. กำกับดูแล การส่งเสริมการรับซื้อจากพลังงานหมุนเวียน การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และนโยบายด้านการแก้ปัญหาโลกร้อน

รายวิชา 1002 การบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าคืออะไร ผลการดำเนินงานด้านวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า และการดำเนินธุรกิจไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ การให้ความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านในภาคพลังงานไฟฟ้า

รายวิชา 9001 ศึกษาดูงาน Green Building

แนวคิดของอาคารเขียว (Green Building) อาคารประหยัดพลังงาน มาตรฐานอาคารเขียว ระดับของอาคารเขียวที่เป็นที่ยอมรับในสากล อาคารเขียวกับการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทัศนศึกษาการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุอาคารเขียว

ชุดความรู้ที่ 2:
เทคโนโลยีพลังงาน

เทคโนโลยีพลังงาน

รายวิชา 2001 การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

ประเภทของพลังงานหมุนเวียน (Alternative Energy) และพลังงานชีวภาพ (Bio-based Energy) การแปลงสภาพของวัตถุดิบทางชีวภาพมาเป็นพลังงาน การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล และเชื้อเพลิงชีวภาพ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวภาพ ข้อดีของเชื้อเพลิงหมุนเวียนแบบชีวภาพ

รายวิชา 2002 การกักเก็บพลังงานและเทคโนโลยีแบตเตอรี่สะอาด

ประจุไฟฟ้าและการกักเก็บประจุไฟฟ้า เทคโนโลยีแบตเตอรี่ ประเภทของแบตเตอรี่และข้อดีข้อเสียของแบตเตอรี่แบบต่างๆ ความสำคัญแบตเตอรี่ที่มีต่อระบบไฟฟ้า การนำแบตเตอรี่ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจประเภทต่างๆ การเก็บกักพลังงานจากประจุไฟฟ้า

รายวิชา 2003 ยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคต

ยานยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV และ HEV วิวัฒนาการของเทคโนโลยีพลังงานจากแบตเตอรี่ อนาคตของยานยนต์ไฟฟ้าของโลก และของไทย ข้อดีและข้อจำกัดของยานยนต์ไฟฟ้า แท่นชาร์จรูปแบบต่างๆ

รายวิชา 9002 ศึกษาดูงานหมู่บ้านพลังงานทดแทน

แนวคิดการออกแบบการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียน พลังงานจากธรรมชาติ หรือพลังงานสะอาดที่สามารถหาได้ในพื้นที่ เทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ รูปแบบทางธุรกิจและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ได้จากการใช้พลังงานทดแทน การลดก๊าซคาร์บอน

ชุดความรู้ที่ 3:
เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว

เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว

รายวิชา 3001 COP27 กับเป้าหมายเปลี่ยนโลก

ข้อตกลงของโลกด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) UNFCCC เป้าหมายของการเจรจาในรอบปัจจุบันภายใต้การประชุม COP27 การบรรลุเป้าหมายและข้อตกลง มาตรการในการกระตุ้นการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รายวิชา 3002 กลไกด้านภาษีคาร์บอน และคาร์บอนเครดิต

การวัดประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซคาร์บอน หน่วยของการวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดเก็บภาษีคาร์บอน คาร์บอนเครดิต การซื้อขายและแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต

รายวิชา 3003 อะไรคือ Circular Energy?

ขยะผลิตอะไรได้บ้าง เทคโนโลยีการแปลงสภาพจากขยะมาเป็นพลังงาน เทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ในการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน ความสำเร็จของการนำขยะมาเพิ่มมูลค่า

รายวิชา 3004 พลังงานสีเขียวเปลี่ยนโลก

การดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทางเลือก ธุรกิจพลังงานที่ช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ธุรกิจพลังงานสีเขียว ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนแห่งอนาคต นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน

รายวิชา 9003 ท่องโลก Metaverse ของพลังงานไฟฟ้าสีเขียวจาก Neutrino

Neutino is tiny, neutral, and weighs so little that no one has been able to measure its mass. Neutrinos are the most abundant particles that have mass in the universe. The Department of Energy’s support for neutrino science has led to many surprising—and Nobel Prize winning—discoveries

กิจกรรมและการจัดงาน

กิจกรรมการอบรม ครั้งที่ 1-9

กติกา ตารางการจัดกิจกรรม Day Camp ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหา...

หัวข้อการแข่งขัน การพัฒนาโลกเสมือนจริง (Creative mode) ...

ติดต่อเรา

ศูนย์การจัดการพลังงานและเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(Kasetsart Energy and Technology Management Center)